ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

sick role

บทบาทผู้ป่วย

แนวความคิดที่ทาลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parson) เสนอไว้ว่าในขณะที่โรคทำให้ร่างกายของคนทำงานผิดปรกติไป การป่วยหรือการที่คนได้รับการยอมรับว่าป่วยจะเป็นบทบาทซึ่งเป็นที่คาดหวังและกำหนดขึ้นโดยสังคม บทบาทของการป่วยมีสี่อย่างคือ (1) ได้รับการยกเว้นจากความรับผิดชอบในการแสดงบทบาททางสังคมตามปรกติ ผู้ให้การยกเว้นข้อนี้จะต้องเป็นผู้มีอำนาจในเรื่องการรักษาพยาบาลโดยตรง ซึ่งโดยมากมักเป็นแพทย์หรือพยาบาล (2) ได้รับการยกเว้นจากความรับผิดชอบสำหรับการป่วยนั้น ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยต้องได้รับการดูแล (3) เนื่องจากการเจ็บป่วยเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา ผู้ป่วยจึงถูกบังคับให้เกิดความต้องการที่จะหายจากอาการป่วย และดังนั้น (4) จึงต้องแสวงหาความร่วมมือที่จะให้หายป่วย
แนวความคิดเรื่องบทบาทผู้ป่วยช่วยในการวิเคราะห์กฎเกณฑ์ทางสังคมเกี่ยวกับ ความเจ็บป่วย การช่วยเหลือรักษาพยาบาลผู้ป่วย และแรงจูงใจของคนในสังคมเกี่ยวกับความเจ็บป่วย นับได้ว่า “บทบาทผู้ป่วย” เป็นหัวใจสำคัญของความคิดทางสังคมวิทยาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความเจ็บป่วย

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015